วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551

สวัสดีค่ะ อ.จ๋า

ส่งงานให้อ.แล้วค่ะ

นิทานคณิตศาสตร์เกี่ยวกับเวลา

"เที่ยง......ยังไม่บ่าย"
มีชายคนหนึ่งพร้อมกับเพื่อน ไปนั่งรอรถไฟที่สถานี รถจะมาถึงเวลาบ่ายโมงชายคนนั้นก็บอกให้เพื่อนไปดูนาฬิกาที่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานีว่า บ่ายโมงแล้วหรือยังเพื่อนก็วิ่งไปดู แล้วก็กลับมาบอกว่า "เที่ยง...ยังไม่บ่าย" ทั้งสองก็นั่งรอรถกันต่อไปนั่งรอกันอยู่พักใหญ่ ก็บอกให้เพื่อนวิ่งไปดูนาฬิกาอีกที ว่าบ่ายโมงหรือยังเพื่อนก็วิ่งไปดูอีก แล้วก็กลับมาบอกว่า "เที่ยง...ยังไม่บ่าย"ก็นั่งรอรถกันอีก จนกระทั่งตะวันคล้อยไปแล้ว ก็บอกให้เพื่อนวิ่งไปดูนาฬิกาอีกสักทีเพื่อนก็วิ่งไปดู แล้วก็กลับมาบอกว่า "เที่ยง...ยังไม่บ่าย" เหมือนเดิมชายคนนั้นก็เกิดความสงสัย จึงพูดกับเพื่อนว่า "ไหน นาฬิกาที่เอ็งวิ่งไปดูมันอยู่ตรงไหน"เพื่อนก็พาไปดูพร้อมกับชี้บอกว่า "นี่ไงล่ะ"ชายคนนั้นหัวเราะไม่ออกจึงพูดออกมาว่า"โธ่เอ๋ย! นั่นมันเครื่องชั่งน้ำหนักต่างหาก ไม่ใช่นาฬิกา เอ็งเข้าใจผิดไปแล้ว"
ข้อคิดที่ได้จากนิทานเรื่องนี้
การใช้คนโง่เขลาเบาปัญญาไปทำสิ่งใด อาจทำให้เกิดความเสียหาย ฉะนั้นพึงระมัดระวังในการใช้คน

นิทานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

สองพี่น้องแบ่งของ
ชาวนาผู้หนึ่งมีบุตรสาวอยู่สองคน วันหนึ่งอยากจะทดลองปัญญาของบุตรทั้งสองจึงส่งแตงโมให้บุตรทั้งสอง 1 ใบ โดยบอกว่าให้ทั้งสองไปแบ่งกันกินให้เท่าๆกันเพื่อจะได้ไม่ต้องโต้เถียงทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่องได้มากได้น้อย ถ้าแบ่งไม่ได้เท่าๆกันเกิดทุ่มเถียงกันขึ้นเมื่อใด ก็จะต้องถูกลงโทษทั้งสองคนเด็กทั้งสอง เมื่อได้รับแตงโมมาแล้วไม่รู้ว่าจะผ่าแบ่งกันอย่างไรจึงจะได้ส่วนเท่าๆกันด้วยเกรงจะต้องถูกทำโทษ ในที่สุดจึงตกลงกันในวิธีการดังนี้ โดยที่เด็กทั้งสอง เห็นว่าเป็นวิธีที่ยุติธรรม คือ ถ้าหากใครเป็นผู้ผ่าแตงโมออกเป็นสองซีก ผู้นั้นจะต้องเป็นฝ่ายเลือกทีหลัง และจะต้องยอมให้ฝ่ายที่ไม่ใช่เป็นคนผ่าเลือกก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้คนผ่าลำเอียง โดยผ่าเป็นชิ้นโตชิ้นหนึ่งและชิ้นเล็กชิ้นหนึ่ง แล้วคนผ่ารีบเลือกเอาชิ้นโตเป็นของตนเองเสียก่อนเมื่อเด็กทั้งสองได้ผ่าแตงโมแบ่งกันเสร็จแล้ว จึงรีบวิ่งไปเล่าให้บิดาฟัง บิดามีความพอใจในสติปัญญาของเด็กทั้งสองนั้นมาก
" มีปัญญาเหมือนอาวุธสุดคม...คิดใดก็สมคะเนหมาย "